Print this page

ประวัติความเป็นมา


ตราสัญลักษณ์

      คำว่า “นาสะไมย์ ” มีลักษณะแปลกทั้งการออกเสียงและการเขียนที่ไม่เคยพบที่ไหนมาก่อน ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลมาถึงการเสาะค้นหาความหมายที่ถูกต้องหรือใกล้เคียงความจริงตราบปัจจุบันข้อสันนิษฐานทั้งปวงยังถกเถียงกันอยู่ และสรุปก็ยังอยู่ห่างไกล ราวกับเป็นถ้อยคำลี้ลับ ที่คอยกระซิบเตือนอนุชนรุ่นหลัง ให้หันกลับไปมองภาพอดีตที่ผ่านมา แม้มิใช่ “ลายแทง” ที่จะไปขุดค้นหาสมบัติมหาศาล แต่อาจเป็นแสงสว่างที่ทำให้รู้จักรากเหง้าตนเองได้ดีขึ้น ทั้งความหมายของถ้อยคำและประวัติความเป็นมาของชุมชน

      คำว่า “นาสะไมย์ ” มีลักษณะแปลกทั้งการออกเสียงและการเขียนที่ไม่เคยพบที่ไหนมาก่อน ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลมาถึงการเสาะค้นหาความหมายที่ถูกต้องหรือใกล้เคียงความจริงตราบปัจจุบันข้อสันนิษฐานทั้งปวงยังถกเถียงกันอยู่ และสรุปก็ยังอยู่ห่างไกล ราวกับเป็นถ้อยคำลี้ลับ ที่คอยกระซิบเตือนอนุชนรุ่นหลัง ให้หันกลับไปมองภาพอดีตที่ผ่านมา แม้มิใช่ “ลายแทง” ที่จะไปขุดค้นหาสมบัติมหาศาล แต่อาจเป็นแสงสว่างที่ทำให้รู้จักรากเหง้าตนเองได้ดีขึ้น ทั้งความหมายของถ้อยคำและประวัติความเป็นมาของชุมชน

      คำว่า “นาสะไมย์ ” มีลักษณะแปลกทั้งการออกเสียงและการเขียนที่ไม่เคยพบที่ไหนมาก่อน ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลมาถึงการเสาะค้นหาความหมายที่ถูกต้องหรือใกล้เคียงความจริงตราบปัจจุบันข้อสันนิษฐานทั้งปวงยังถกเถียงกันอยู่ และสรุปก็ยังอยู่ห่างไกล ราวกับเป็นถ้อยคำลี้ลับ ที่คอยกระซิบเตือนอนุชนรุ่นหลัง ให้หันกลับไปมองภาพอดีตที่ผ่านมา แม้มิใช่ “ลายแทง” ที่จะไปขุดค้นหาสมบัติมหาศาล แต่อาจเป็นแสงสว่างที่ทำให้รู้จักรากเหง้าตนเองได้ดีขึ้น ทั้งความหมายของถ้อยคำและประวัติความเป็นมาของชุมชน

      อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นนี้ การมองกลับไปยังอดีตตามเส้นทางเคลื่อนย้ายของคนกลุ่มแรกๆ ที่มารวมกันสร้างบ้าน “นาสะไมย์” เราอาจได้ข้อสันนิษฐานบางประการเกี่ยวกับความหมายนั้น

      ล่วงมาแล้วประมาณร้อยปีเศษ ชาวบ้านจำนวนหนึ่งได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ “โนนแดง” ห่างจากหมู่บ้านปัจจุบันไปทางทิศทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 4-5 กิโลเมตร ตรงนั้นพบร่องรอยความเป็นอยู่หลายอย่าง เช่น เสาบ้านเก่า บ่อร้าง ถ้วย หม้อดินเผา และจากการบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ พอจับเค้าความได้ว่า เส้นทางเกวียน 4 สาย ที่เลื่อนเข้ามาบรรจบกันนั้นมาจากเส้นทางใหญ่ๆ ดังนี้

  1. มาจากบ้านไผ่ อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ (แยกออกจาก จ.อุบลราชธานี)
  2. มาจากบ้านเหล่า บ้านถิ่น อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร
  3. มาจากบ้านหนองอีตุ้ม อ.เมืองยโสธร
  4. มาจากบ้านโพธิ์ศรี อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร

      การก่อตั้งชุมชนดำเนินไปอย่างเรียบง่ายตามแบบแผนความเชื่อดั้งเดิม กล่าวคือ ผู้ได้รับฉันทานุมัติจากชุมชนให้ดำรงตำแหน่ง “หมอจ้ำ” ทำพิธีขอขมาต่อเทวดาอารักษ์ บอกกล่าว ถึงจุดประสงค์การเข้ามาขอพึ่งพิง เพื่อแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อภูมิสถาน

      จากนั้น แต่ละครอบครัวได้แยกย้ายออกจับจองผืนดินเพื่อประกอบอาชีพ หักร้างถางพงด้วยความขยันหมั่นเพียร และความเข้มแข็ง โดยหวังจะลงหลักปักฐานอยู่โนนแดงนี้อย่างถาวร เพราะมีทำเลที่เหมาะสมทุกประการ

      แต่แล้วเหตุการณ์อันไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อเพื่อนบ้านคนหนึ่งเสียชีวิตลงอย่างกระทันหัน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ตายโหง” ความสงบสุขที่เคยมีมาก่อนก็สลายลงพลัน การเกิดและการตายเป็นสิ่งที่ทุกคนคุ้นเคยและใกล้ชิดก็จริง แต่ชีวิตที่ถูกคร่าไปอย่างโหดร้ายเช่นนี้ ย่อมเป็นความพิโรธจากอำนาจอำมหิตแห่งป่าดงอย่างไม่ต้องสงสัย และไม่อาจคาดได้ว่าเหยื่อรายต่อไปคือใคร ดูเหมือนว่าสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจหรือซ่อนเร้นแอบแฝงอยู่ตามเงามืด ย่อมซักนำหายนะมาเคาะประตูได้เสมอ

      ศพตายโหงจะต้องนำกลับไปฝังโดยด่วนและไม่มีพิธีกรรมใดๆ เพราะเชื่อว่า ถ้าเผาศพคนตายโหง คนอื่นในครอบครัวหรือผู้คนในหมู่บ้านก็จะตายลงแบบเดียวกัน ความหวั่นกลัวของชาวบ้านรุนแรงขึ้นจนไม่มี “อาคม” ใดจะช่วยปัดเป่าได้ เมื่อตกกลางคืน มีเสียงหมาหอนดังโหยหวนออกมาจากป่าช้า บางคืนมีเสียงคล้ายคนเคาะโลงศพดังอยู่รอบหมู่บ้าน เมื่อจิตใจจดจ่ออยู่ในความกลัว ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นตัวแทนของภูติผีทั้งนั้น จนกระทั่งไม่สะดวกในการทำมาหากิน เสมือนถูกจดจ้องอยู่ด้วยสายตากระหายหิวของภูติผี

      เมื่อทนเสียงเย็นยะเยือกในความมืดไม่ไหว จึงตัดสินใจทิ้งถิ่น “โนนแดง” ไว้ข้างหลังมุ่งหน้ามาทางทิศตะวันออกซึ่งยังเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ประกอบกับมีหนองน้ำธรรมชาติกระจายกันอยู่หลายแห่ง สลับกับป่าโปร่งและทุ่งราบ ตอนแรกตั้งบ้านเรือนอยู่รอบหนองน้ำกลางป่า ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า “หนองสิม”อันเป็นศูนย์รวมชาวบ้านในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อพื้นถิ่นที่ยังแนบแน่นอยู่ในชีวิต แต่ก็ยังถูกรบกวนจากอาถรรพ์ป่าอยู่นั่นเอง ด้วยการเจ็บป่วยเรื้อรังแรมปีที่ชาวบ้านั้นเข็ดขยาดนั้นคือ “ป่วยปี” ไม่มีทางเยียวยาให้หายป่วยเป็นปกติได้ แม้ว่าผู้มีอาคมเก่งกล้าในนาม “หมอจ้ำ” จะประกอบพิธีทางไสยศาสตร์แล้วก็ยังมีชาวบ้านหลายคนล้มป่วยและตายรวมกับถูกเข่นฆ่าจากวิญญาณบ้าคลั่งไม่เลิกลา มันเป็น “อาเพท” ที่ไม่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดจะบำบัดได้ ดังนั้น หลายครอบครัวจึงขนย้ายสัมภาระ ปลีกตัวออกไปทาง “ดงไผ่” และ “ดงหญ้าหวาย” ด้านทิศตะวันออก

      เมื่อสายฝนพร่างพราวจากฟากฟ้า หยาดลงสู่ผืนดินที่เคยแห้งผาก บทเพลงจากแผ่นดินบรรเลงขึ้น เกิดความชุ่มชื่น อันเป็นความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่จากธรรมชาติ ไม่เพียงแต่ซึมซ่านลงในผืนดินเท่านั้น แต่ทว่า ได้พร่างพรูเข้าหัวใจของผู้คน อย่างถ้วนหน้า

      เมื่ออาการสะพรึงกลัวค่อยๆเลือนหายจากจิตใจ ความแน่วแน่ก็กลับมาอีกครั้ง ชาวบ้านจึงลงมือสร้างเรือน และแบ่งพื้นที่ทำกินอย่างถาวรตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา นั่นอาจเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านจาก “นาซะใหม่” กลายเสียงมาเป็น “นาสะไมย์” เช่นเดียวกันอาจจะเพี้ยนมาจากคำว่า “คำพะมัย” หรือ “นาหญ้าหวาย” ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น เพราะการเสาะค้นหาความจริงในเบื้องต้นนี้ย่อมไม่มีข้อจำกัดในสมมติฐาน

      ปัจจุบัน ชาวบ้านนาสะไมย์ ยังกล่าวขานถึงร่องรอยอดีตเหล่านั้นอยู่ไม่ว่าจะเป็น “บ้านโนนแดง” หรือ “บ้านร้าง-หนองสิม” เพียงแต่แง่มุมปลีกย่อยในการบอกกล่าวย่อมแตกต่างกันออกไป อย่างไร ก็ตาม เรื่องราวพื้นๆ เหล่านี้อาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อยในการรับรู้ แต่นี่คือ ประวัติศาสตร์สามัญชนในท้องถิ่น ผู้ฝ่าฟันอุปสรรคที่เกิดจากธรรมชาติและเหนือธรรมชาติมาอย่างล้มลุกคลุกคลาน ย่อมควรค่าแก่การสดับและจดจำ